ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการดำ เนินกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจไปตามกลไกตลาดอย่างเสรีกล่าวคือ หากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าชนิดใดหรือมีอุปสงค์สูง
ราคาของสินค้าชนิดนั้นก็ย่อมสูงตามไปด้วย ด้านผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการเมื่อเห็นว่าสินค้าชนิดใด
มีราคาสูงและผู้บริโภคมีความต้องการมาก ก็จะเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของ
ผู้บริโภคหรือเป็นการเพิ่มอุปทาน ดังนั้น หลักการของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมนี้จึงเป็น
ระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถต่อรองและใช้กลไกของตลาดเป็นตัว
กำ หนดราคาและปริมาณตามที่เห็นสมควรได้โดยรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ๑
อย่างไรก็ดีในบางกรณีที่กลไกของตลาดหรือราคาไม่สามารถทำ หน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์และอาจส่ง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้รัฐก็มีความจำ เป็นที่จะต้องเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจ ทั้งนี้
เพื่อกำ หนดกฎเกณฑ์ช่วยให้กลไกตลาดทำ หน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อทำ หน้าที่จัดสรรสินค้าและบริการ
ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำ หน้าที่ได้โดยเฉพาะสินค้าสาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
ป้องกันการผันผวนในทางเศรษฐกิจ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น
สำ หรับมาตรการให้แสดงราคาสินค้าหรือค่าบริการตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น เป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐกำ หนดให้มีขึ้นเพื่อคุ้มครอง
ผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคาสินค้าหรือบริการ โดยกำ หนดให้คณะกรรมการกลาง
ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการหรือคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ แล้วแต่กรณี
มีอำ นาจกำ หนดให้ผู้ผลิต ผู้จำ หน่าย ผู้ซื้อเพื่อจำ หน่าย หรือผู้นำ เข้าเพื่อจำ หน่ายสินค้าหรือบริการ
แสดงราคาสินค้าหรือบริการ แต่ทว่ายังคงมีผู้ประกอบการที่ดำ เนินธุรกิจโดยเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
ด้วยวิธีการไม่ติดป้ายแสดงราคาหรือแสดงราคาสินค้าในลักษณะที่ไม่ชัดเจนอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การจำ หน่ายสินค้าออนไลน์ประเภทเสื้อผ้าและรองเท้าแฟชั่น ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแล
การแสดงราคาสินค้าหรือค่าบริการ จึงขอนำ เสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรการให้แสดงราคา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังต่อไปน